หลังจากการเกิดสุริยุปราคา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ปี2562 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความสนใจในกลุ่มคนที่ชื่นชอบเรื่องดาราศาสตร์และปรากฎการทางธรรมชาติ ซึ่งในปี2563นี้ก็มีเหตุกาณ์ทางดาราศาสตร์และปรากฎการทางธรรมชาติให้ได้ติดตามกัน 6 เรื่อง ดังนี้
1) จันทรุปราคาเงามัว และสุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย อุปราคาในปี 2563 ที่สามารถสังเกตเห็นได้ในประเทศไทยมี 4 ครั้ง ได้แก่ จันทรุปราคาเงามัว :ใน วันที่ 11 มกราคม/ 6 มิถุนายน/ 30 พฤศจิกายน 2563 และสุริยุปราคาบางส่วน :ในวันที่ 21 มิถุนายน2563”
2) ฝนดาวตก มีตลอดทั้งปี แต่ที่น่าจับตาได้แก่ ฝนดาวตกควอดรานติดส์ : 3-4 มกราคม (เฉลี่ย 120 ดวงต่อชั่วโมง) ฝนดาวตกลีโอนิดส์ : 17-18 พฤศจิกายน (เฉลี่ย 15 ดวงต่อชั่วโมง) และ ฝนดาวตกเจมินิดส์ : 13-14 ธันวาคม (เฉลี่ย 150 ดวงต่อชั่วโมง)
3) ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้-ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ Super Full Moon ในวันที่ 8 เมษายน 2563 คืนดังกล่าวจะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย
ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี หรือ Micro Full Moon ในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 คืนดังกล่าวจะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย
4) ดาวเคราะห์ใกล้โลก ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 คือ ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในแนวเดียวกันมีโลกอยู่ตรงกลาง เป็นตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ดาวเสาร์ใกล้โลก ในวันที่ 21 กรกฏาคม 2563 ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงอยู่ในแนวเดียวกันมีโลกอยู่ตรงกลางส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ดาวอังคารใกล้โลก (6-14 ตุลาคม 2563) - วันที่ 6 ตุลาคม 2563 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี หลังจากนั้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคาร เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง)
5) The Great Conjunction 2020 ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี (20-23 ธันวาคม 2563) ระยะห่างเพียง 0.1 องศาเท่านั้น นักดาราศาสตร์เรียกปรากฏการณ์ที่ดาวเคราะห์ทั้งสองปรากฏอยู่ใกล้กันมากบนท้องฟ้าว่า “The Great Conjunction
6) NASA ส่งยาน MARS 2020 มุ่งสู่ดาวอังคาร ยาน MARS 2020 เป็นรถสำรวจดาวอังคาร ที่องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐอเมริกา (NASA) มีแผนจะส่งขึ้นสู่อวกาศในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 มีภารกิจหลักเพื่อศึกษาดาวอังคารในหลายประเด็น ได้แก่ สภาพแวดล้อมในอดีตบนดาวอังคารในเชิงชีวดาราศาสตร์ กระบวนการทางธรณีวิทยาบนพื้นผิวดาวอังคาร วิวัฒนาการของดาวอังคารในเชิงชีวดาราศาสตร์ เช่น สภาพเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต (Habitability) ของดาวอังคารในอดีต ความเป็นไปได้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตสมัยดึกดำบรรพ์บนดาวอังคาร การตรวจหาสัญญาณบ่งชี้ถึงสิ่งมีชีวิต (Biosignature) คาดว่ายาน MARS 2020 จะลงสู่พื้นผิวดาวอังคารบริเวณหลุมอุกกาบาตเยเซรอ (Jezero Crater) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
.
โดยทั้ง 6 เรื่องดาราศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในปี2563นี้ อยากให้ทุกท่านติดตามปรากฎการที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบจักรวาล จะส่งผลต่อชีวิตสิ่งมีชิวิตบนโลก และเป็นเหตุการณ์ที่หาชมได้อยาก
ขอเชิญชวนทุกคนเสริมสร้างแรงบันดาลใจและเรียนรู้เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ ดาราศาสตร์ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถชมปรากฎการณ์ได้ที่หอดูดาวภายในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ หรือหอดูดาวทั่วประเทศ
(แหล่งที่มาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ :http://www.narit.or.th/index.php/pr-news/4134-narit-10-interesting-astronomy )
เรียบเรียง :พรชนก กุหลาบซ้อน
บรรณาธิการ : นันธวัฒน์ กิ่งนอก
ที่ปรึกษา : จิรวัชร์ จุฑาวุฒิกุล